วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

 

  กรดจากน้ำผลไม้



 



 

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน



       ประชาชนส่วนใหญ่นิยมดื่มน้ำผลไม้เพื่อคลายร้อนและกระหาย  บางครั้งก็นำน้ำผลไม้มาแปรรูปซึ่งเป็นการถนอมอาหารอีกรูปแบบหนึ่งหรือนำมารับประทานแทนของว่างก็ได้  กลุ่มของพวกเราจึงได้นำข้อมุลเหล่านี้มาคุยและปรึกษากันกับสมาชิกภายในกลุ่มว่าเราสามารถนำผลไม้บางชนิดที่มีฤทธิ์ความเป็นกรดมาขจัดคราบสกปรกบนเหรียญได้หรือไม่และถ้าต้องจัดระดับค่าความเป็นกรดเมื่อนำน้ำผลไม้มาผสมกับนั้นจะสามารถเรียงลำดับว่าอันไหนมีค่าความเป็นกรดสูงสุดจากข้อสงสัยต่างๆเหล่านี้กลุ่มของพวกเราจึงได้คิดค้นจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมา


 วัตถุประสงค์


               1.  เพื่อศึกษาหาระดับค่าความเป็นกรดของน้ำผลไม้เมื่อนำมาผสมกัน
               2. เพื่อศึกษาว่ากรดจากน้ำผลไม้ที่ผสมแล้วเติมเกลือละลายน้ำลงไปจะมีความสามรถในการ    ขจัดคราบสกปรกหรือไม่
               3.  เพื่อศึกษาหาความสามรในการกัดกร่อนของน้ำผลไม้เมื่อนำเกลือละลายน้ำมาผสม

                                            
                                            ส้ม

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร    Plantae
ส่วน       Magnoliophyta
ชั้น          Magnoliopsida
ชั้นย่อย  Rosidae
อันดับ    Sapindales
วงศ์         Rutaceae
สกุล        Citrus

                ส้ม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด

มะนาว 


การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร Plantae
ส่วน       Magnoliophyta
ชั้น          Magnoliopsida
อันดับ    Sapindales
วงศ์         Rutaceae
สกุล        Citrus
สปีชีส์    C. aurantifolia
ชื่อวิทยาศาสตร์    Citrus aurantifolia Swing.

           มะนาว (อังกฤษ: lime) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุล ส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย

สับปะรด

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร                  Plantae
ส่วน พืชดอก            Magnoliophyta
ส่วนไม่จัดอันดับ      Angiosperms
ชั้นไม่จัดอันดับ         Monocots
ชั้น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว   Liliopsida
อันดับไม่จัดอันดับ    Commelinids
อันดับ                       Poales
วงศ์                            Bromeliaceae
วงศ์ย่อย                      Bromelioideae
                   สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกก็สามารถปลูกได้ง่ายโดยการใช้หน่อหรือที่เป็นส่วนยอดของผลที่เรียก ว่า จุก มาฝังกลบดินไว้ และออกเป็นผล เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล


 อุปกรณ์และวีธีการทดลอง

              1.  วัสดุ
                    1.1  น้ำมะนาว
                    1.2  น้ำสับปะรด
                    1.3  น้ำส้ม
                    1.4   เกลือละลายน้ำ
                    1.5  เหรียญหนึ่งบาท  3  แหรียญ

             2.  อุปกรณ์
                  2.1  มีด
                  2.2   แก้วขนาดกลาง  3  ใบ
                  2.3   ชามใบเล็ก  2  ใบ
                  2.4   ช้อน  2  คัน
                  2.5   เขียง
                  2.6  กระดาษลิตมัส

 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
              1.  ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ
                    1.1  นำมะนาว  สับปะรดและส้มมาคั้นให้ได้น้ำและกรองเอาตะกอนทิ้ง
                    1.2   นำเกลือมาละลายน้ำละอาดทิ้งไว้ประมาณ  5  นาที

       ขั้นตอนการทดลอง
              ตอนที่  1  ศึกษาระดับค่าความเป็นกรดของน้ำผลไม้เมื่อนำมาผสมและเรียงลำดับจากค่า
                              มากไปหาค่าน้อย
                              1.1  นำมะนาว  ส้ม  สับปะรด  มาคั้นให้ได้น้ำ
                              1.2 เมื่อได้น้ำผลไม้ทั้ง 3 ชนิด แล้วให้นำมาผสมกันตามสัดส่วนดังนี้
                                    1.2.1 นำน้ำสับปะรดไปผสมกับน้ำมะนาว ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะเท่ากัน
                                    1.2.2 นำน้ำส้มไปผสมกับน้ำมะนาว ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะเท่ากัน
                                    1.2.3 นำน้ำส้มไปผสมกับน้ำสับปะรด ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะเท่ากัน
                              1.3 เมื่อนำไปผสมตามสัดส่วนแล้ว คนให้เข้ากันแล้วทดสอบหาระดับค่าความเป็นกรดด้วยกระดาษลิตมัส
                              1.4 บันทึกผลการทดลองที่ได้ โดยการเรียงลำดับระดับค่าความเป็นกรด จากค่ามากไปหาค่าน้อย
                              
            ตอนที่ 2 ศึกษาหาความสามารถในการกัดกร่อนและขจัดคราบสกปรกบนเหรียญ เมื่อนำเกลือละลายน้ำผสมลงไป                                             
                              2.1 ให้นำเกลือละลายน้ำที่ได้ไปผสมกับน้ำผลไม้ในตอนที่1 ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
                              2.2 คนให้เข้ากัน แล้วนำเหรียญที่มีคราบสกปรกใส่ลงไปในน้ำผลไม้ที่ผสมเกลือละลายน้ำไว้
                              2.3 ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
                              2.4 นำเหรียญออกมาล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งนำมาเปรียบเทียบกัน แล้วบันทึกผลการ ทดลองที่เกิดขึ้น

ผลการทดลอง
    ตอนที่ 1   ระดับค่าความเป็นกรดของน้ำผลไม้เมือนำมาผสมกันเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อยเป็นนดังนี้
                         
น้ำผลไม้ที่นำมาผสมกัน
ระดับค่า pH ที่ได้

1.  น้ำมะนาว  +  น้ำสับปะรด
 2.  น้ำมะนาว  +  น้ำส้ม
 3.  น้ำส้ม   +  น้ำสับปะรด

          3.0


          4.0

          4.5

 ตอนที่  2  ความสามารถในการกัดกร่อนและขจัดคราบสกปรกบนเหรียญเมื่อนำน้ำน้ำเกลือละลายน้ำผสมลงไป
แก้วที่  1  น้ำส้ม  +  น้ำมะนาว 
แก้วที่ 2 น้ำมะนาว +  น้ำสับปะรด 
แก้วที่ 3  น้ำส้ม   +  น้ำสับปะรด 
เหรียญหนึ่งบาทที่สกปรกจำนวน  3  เหรียญ
เหรียญที่มีสกปรกใส่ในแก้วน้ำผลไม้ผสมเกลือละลายน้ำ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทดลอง
      1.  สามารถนำน้ำผลไม้มาทำความสะอาดเหรียญที่มีคราบสกปรกได้
       2.  สามารถทราบถึงฤทธิ์ของกรดที่กัดกร่อนคราบสกปรกบนเหรียญได้
       3.  สามารถทราบว่าน้ำผลไม้ชนิดใดมีค่าความเป็นกรดมากและมีฤทธิ์การกัดกร่อนไดดีที่สุด
      

ข้อเสนอแนะ
   
       1.  เราอาจนำน้ำผลไม้ชนิดอื่นที่มีฤทธิ์เป็นกรดที่หาได้ง่ายตามครัวเรือนของคุณ
       2.  เราอาจนำการทดลองนี้ไปทดลองกับสิ่งอื่นๆที่มีคราบสกปรกติดอยู่  เช่น  สร้อยคอ  แหวน
พวงกุญแจ


ภาพ 3 มิติประกอบโครงงาน
สามารถเปิดจากลิ้งค์ข้างล่างนี้
แนะนำให้เปิดไฟล์ด้วยโปรแกรม Mozilla Firefox.






วีดีโอที่เกี่ยวข้องกัปโครงงาน




ผู้จัดทำโครงงาน

กลุ่มกรดและกัด


นายจิรายุทธ สุขขา เลขที่ 20
นายฐปวรรธน์ รัตนะ เลขที่ 21
นายฤทธิชัย บุญประกอบ เลขที่ 22
ห้อง ม.506



อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ : อาจารย์อาภรณ์ รับไซร
อาจารย์ที่ปรึกษาคอมพิวเตอร์ : อ.จิรัฏฐ์ พงษ์ทองเมือง


โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
Princess Chulabhorn's College,Nakhon Si Thammarat
(Chulabhorn  Science High  School)

ขอบคุณ แหล่งข้อมูลประกอบการทำโครงงาน